วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาคซอฟต์แวร์ร่างแผน10ข้อดึงรัฐหนุน

     อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยผนึกกำลัง เล็งยื่นแผนพัฒนาซอฟต์แวร์ 10 ข้อต่อรัฐบาล หวังเปิดทางช่วยพัฒนาศักยภาพซอฟต์แวร์ไทยแข่งขันกับต่างประเทศ
 นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศ เช่น เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ซิป้า) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) รวมถึงสมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) กำลังร่างแผนพัฒนาซอฟต์แวร์ 10 ข้อ (Action Plan) เพื่อเสนอต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อกำหนดเป็นแผนพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเชิงรุก ผลักดันสร้างการส่งออกเพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ รวมทั้งสร้างรายได้เข้าประเทศ
   "เรากำลังรวมตัวในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ทำแอคชั่น แพลน 10 ข้อ เพื่อเสนอกับรัฐบาล ผ่านทางคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองที่ปรึกษาที่นายกรัฐมนตรีดูแลด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงไอทีด้วย เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่เชิงลึกว่าจะพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยไปในทิศทางไหน รวมถึงจะปรับโครงสร้างคลัสเตอร์ซอฟต์แวร์ต่างๆ ใหม่ โดยจะกำหนดแผนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กลยุทธ์การส่งออกซอฟต์แวร์ทั้งในประเทศ และไปต่างประเทศ แผนนี้ต้องแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือนนับจากนี้"

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์


   วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์ที่มีมายังไม่ยาวนานนักเมื่อเทียบกับศาสตร์ของวิศวกรรมสาขาอื่นๆ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นการรวมกันของศาสตร์สองแขนง คือวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยปกติแล้ว บุคคลทั่วไปมักจะไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดไปเองว่า วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ กับ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นศาสตร์เดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ศาสตร์สองแขนงนี้มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก เพราะนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์นั้นมีความรู้เรื่องไฟฟ้าและซอฟต์แวร์ แต่วิศวกรคอมพิวเตอร์นั้นนอกเหนือจากความรู้เรื่องดังกล่าวแล้ว ยังมีความรู้ทางด้านฮาร์ดแวร์ และระบบเน็ตเวิร์กอีกด้วย

วิศวกรคอมพิวเตอร์ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบ เข้าใจระบบตรรกะและหน่วยประมวลผล หรือไมโครโปรเซสเซอร์ ผู้ที่ความสนใจที่จะศึกษาต่อในศาสตร์ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ต้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากความรู้แล้ว     
    วิศวกรคอมพิวเตอร์ยังเป็นอาชีพที่ต้องการทักษะในการวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารเหมือนวิศวกรสาขาอื่นๆ โดยส่วนมากแล้ววิศวกรคอมพิวเตอร์มักจะไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มักต้องออกไปพบลูกค้า หรือผู้เชี่ยวชาญต่างๆอยู่เสมอๆ เพราะการทำงานของวิศวกรคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่แค่การซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการเขียนโปรแกรม แต่งานของวิศวกร คือการออกแบบ วางแผน ควบคุมระบบการทำงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีความรู้ครอบคลุม กว้างขวางและแม่นยำ เพื่อให้สามารถสร้างระบบที่ดีและตรงความต้องการได้อย่างเหมาะสม

ชอฟต์แวร์(Software) คืออะไร


หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย
ซอฟต์แวร์ (Software)
   คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงาน จะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้น เขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ

แท็ก ‘ซอฟต์แวร์ไทย’

    วันนี้(18  ส.ค.) นายประมุข  มนตริวัต  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ  กรมส่งเสริมการส่งออก  ร่วมกับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ทีเอสอีพี) เปิดเผยถึงการที่ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันเจาะตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า ในตลาด เวียดนามและโดยเฉพาะญี่ปุ่น ยังมีความต้องการซอฟต์แวร์จากไทยค่อนข้างมาก ซึ่งในการเจาะตลาดเวียดนามและญี่ปุ่นไม่ถึง 2  ปี สามารถนำเม็ดเงินเข้าประเทศกว่า 500  ล้านบาท ขณะเดียวกัน ในวันที่  18 ก.ย.นี้ กรมส่งเสริมการส่งออก เตรียมเป็นแกนนำพาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยไปทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในประเทศฟิลิปปินส์  ซึ่งเป็นตล...

ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ


   ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) พ.ศ.2546 ให้สำนักงานมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้"
1. เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
2. ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยมุ่งเน้นสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ การพัฒนาบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิตและการให้บริการที่ได้มาตรฐานสากลรวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ต่อคณะรัฐมนตรี
3. สนับสนุนค้นคว้าวิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยี และจัดให้มีกฎระเบียบและมาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
4. ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จเป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ